
ของคอเลสเตอรอลได้ (ชื่อยี่ห้องของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะแสดงเป็นอักษรตัวเอน เจตนาที่ระบุถึงชื่อยี่ห้อเพื่อเผยแพร่ข้อมูลว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านั้นคืออะไร โปรดอย่าตีความว่าเป็นการรับรองผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด)
ก่อนที่จะเริ่มรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลควรปรึกษาแพทย์ของคุณก่อน การเปลี่ยนจากยาที่แพทย์สั่งมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่วมกับยาที่แพทย์สั่งด้วยตัวเองอาจเป็นอันตรายได้ และอย่าลืมว่า ไม่มีอาหาร สารอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดที่เป็นยาวิเศษ การรับประทานอาหารไขมันต่ำและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอยังเป็นสิ่งจำเป็นในการลดคอเลสเตอรอล
1. กระเทียม (หากเป็นในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้รับประทานครั้งละ 1 แคปซูลได้ถึง 3 เวลาต่อวัน)
2. กัวร์กัม (สารสกัดจากเมล็ดของต้นกัวร์ ควรเคี้ยวเม็ดยาให้ละเอียดในปาก หรือค่อยๆ ดูดช้าๆ พร้อมดื่มน้ำตามมากๆ ข้อควรระวัง: ผู้ที่มีปัญหาด้านการกลืน หรือผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารไม่ควรรับประทาน
3. กูกูลิปิด (สารสกัดจากต้นมูกูลเมอร์ ไม้พื้นเมืองของอินเดีย และมีการนำมาใช้ทางอายุรเวทเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว รับประทานแคปซูลขนาด 25 มก. 1 เม็ดพร้อมอาหาร วันละสามมื้อ ข้อควรระวัง: อาจทำให้เกิดผื่นหรือลมพิษในผู้ที่แพ้ง่าย)
4. ขิง (หากเป็นในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้รับประทานครั้งละ 1 แคปซูลได้ถึง 3 เวลาต่อวัน)
5. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย)
6. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันคาโนลา)
7. แครอทดิบ
8. โครเมียมไพโคลิเนต (เป็นรูปที่ดูดซึมได้ดีที่สุดของโครเมียม ทำงานร่วมกันอย่างดีกับไนอะซินแบบที่ไม่ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ รับประทานขนาด 200 มคก. ได้ถึง 3 เม็ดต่อวัน)
9. โคลีสเตติน (มีสารไฟโตสเตอรอล สารที่พบได้ในอาหาร เช่น ข้าว ถั่วเหลือง สารตัวสำคัญคือไซทอสเตอรอล ขนาดที่แนะนำคือ 6-8 แคปซูล ต่อวัน รับประทานก่อนอาหาร)
10. ชาเขียว (หากเป็นในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้รับประทาน 1 เม็ด ได้ถึง 3 เวลาต่อวัน)
11. ซิลเลียมชนิดผง (3 ช้อนชาพูน ให้เส้นใยอาหารที่ลดระดับคอเลสเตอรอลได้ประมาณ 10 กรัม)
12. ถั่ว (ถั่วปินโต ถั่วลิมา ถั่วเนวี ถั่วแดง)
13. ถั่วเหลือง หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
14. ธัญพืชไม่ขัดสี
15. น้ำมันตะไคร้หอม
16. น้ำมันปลา EPA และ DHA (กรดไขมันโอเมก้า-3 รับประทานเป็นแคปซูลขนาด 1,000 มก. ได้มากถึง 6 เม็ดต่อวัน ข้อควรระวัง: อาจขัดขวางการแข็งตัวตามปกติของเลือด ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น คูมาดิน หรือเฮปาริน นอกเสียจากว่าแพทย์ของคุณแนะนำ)
17. น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส (มีกรดแกมมา-ไลโนเลนิก หรือ GLA ผมแนะนำให้รับประทานขนาด 250 มก. 1-3 เวลาต่อวัน)
18. ไนอะซิน (ใช้แบบไม่ทำให้ร้อนวูบวาบกับแบบมีอินอซิทอล เฮกซะนิโคติเนต (IHN) รับประทานแคปซูลขนาด 500 มก. ได้มากถึง 3 เม็ด ต่อวัน ข้อควรระวัง: อาจทำให้อาการของโรคเกาต์กำเริบได้ในผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็น และการได้รับในปริมาณสูงอาจทำให้การทำงานของตับผิดปกติได้)
19. บาร์เลย์
20. ผักในตระกูลกะหล่ำ (บรอกโคลี กะหล่ำดอก)
24. พริกแดง
25. พริกป่น (รับประทานสารสกัดจากพริก หรือเติมลงบนอาหารจานโปรดของคุณ)
26. เพกทิน (แอ๊ปเปิ้ล เกรปฟรุต)
27. ไฟโตสเตอรอล: เบต้าไซทอสเตอรอล สติ๊กแมสเตอรอล แคมเพสเตอรอล (สารที่มีในพืชตามธรรมชาติ เช่น ข้าว ถั่วเหลือง)
28. มะเขือม่วง
29. เมล็ดลูกชัด (ข้อควรระวัง: ไม่ควรรับประทานลูกซัดในขณะตั้งครรภ์
30. โยเกิร์ต
31. รำข้าว
32. รำข้าวโพด
33. รำข้าวโอ๊ต
34. ลูกพรุน
35. วิตามินซี (1,000 มก. วันละ 3 เวลา หากมีอาการท้องร่วงให้ลดปริมาณยาลงจนอาการดีขึ้น)
36. วิตามินอี
37. เส้นใยอาหาร (25-30 กรัมต่อวัน)
38. หัวหอม
39. เอ็น-อะซิทิลซิสเทอีน (NAC) (500 มก. วันละ 3 เวลา)
ที่มา: วิตามินไบเบิล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น